Skip links

GED Test Center

Best-in-class design and development team.​

GED Test Center

สอบ GED ที่ไหนดี

Paradigm Education ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศูนย์สอบ GED (GED Test Center) อย่างเป็นทางการจาก Pearson VUE ผู้ที่สนใจและวางแผนในการสอบ สามารถตรวจสอบตารางสอบล่าสุด พร้อมลงทะเบียนสอบได้โดยตรงจากเว็ปไซด์ทางการของ GED 

ศูนย์สอบ Paradigm Education

หากคุณกำลังวางแผนสอบ GED แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกสอบที่ไหนดี ที่สามารถให้คุณมั่นใจได้ทั้งในเรื่องของคุณภาพ ความสะดวก และความน่าเชื่อถือ ในกรณีนี้ เราขอแนะนำให้คุณรู้จักกับ Paradigm Education ซึ่งถือเป็นหนึ่งในศูนย์สอบ GED อย่างเป็นทางการ โดยได้รับการแต่งตั้งจาก Pearson VUE ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรระดับสากลที่มีชื่อเสียงในด้านการออกแบบและดูแลระบบสอบ GED ทั่วโลก ดังนั้น คุณจึงสามารถมั่นใจได้ทั้งในด้านมาตรฐานการสอบและความเป็นมืออาชีพของศูนย์สอบแห่งนี้

ทำไมต้องสอบ GED ที่ Paradigm Education?

  • ศูนย์สอบทางการ รับรองโดย Pearson VUE
    Paradigm Education ได้รับการรับรองให้เป็น GED Test Center อย่างเป็นทางการ คุณจึงมั่นใจได้ว่า ทุกขั้นตอนของการสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ตั้งแต่การลงทะเบียน สถานที่สอบ 

  • ตรวจสอบตารางสอบและลงทะเบียนได้ง่าย
    ผู้สมัครสามารถเข้าดูตารางสอบล่าสุด พร้อมลงทะเบียนสอบได้ทันทีผ่านเว็บไซต์ทางการของ GED (www.ged.com) โดยเลือกสอบที่ Paradigm Education เป็นศูนย์สอบปลายทาง

  • บรรยากาศสอบเงียบสงบ เดินทางสะดวก
    ศูนย์สอบตั้งอยู่ในทำเลใจกลางเมือง ใกล้ BTS ชิดลม พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เหมาะสำหรับผู้เข้าสอบที่ต้องการความเป็นส่วนตัวและบรรยากาศที่เอื้อต่อสมาธิ

  • ทีมงานมืออาชีพ ดูแลใกล้ชิด
    เรามีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำเรื่องการสอบ GED อย่างครบถ้วน ตั้งแต่การเตรียมเอกสารไปจนถึงการสอบวันจริง เพื่อให้คุณมั่นใจและพร้อมที่สุด

สอบ GED เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่ไม่ได้จบมัธยมปลายตามระบบปกติ
    เช่น คนที่ต้องการวุฒิเทียบเท่า ม.6 เพื่อใช้ในการศึกษาต่อหรือสมัครงาน

  • นักเรียนโฮมสคูล (Homeschool Students)
    ที่ต้องการใช้วุฒิ GED สำหรับการยื่นเข้ามหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ

  • ผู้ที่ต้องการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
    โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมหาวิทยาลัยจำนวนมากรับรองวุฒิ GED

  • คนทำงานที่ต้องการยกระดับคุณวุฒิของตนเอง
    เพื่อใช้สมัครงานหรือเลื่อนตำแหน่ง ซึ่งต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับมัธยมปลาย

เริ่มต้นง่าย ๆ วันนี้

เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ทางการ www.ged.com
เลือกศูนย์สอบเป็น Paradigm Education แล้วเลือกวันและเวลาที่สะดวก

สอบ GED อย่างมั่นใจ กับศูนย์สอบที่ได้รับการรับรอง พร้อมบริการระดับมืออาชีพ และทีมงานที่พร้อมสนับสนุนคุณทุกขั้นตอน

GED ประกอบด้วยเนื้อหา 4 แขนง คือ

1. Reading Through Language Arts (RLA) : 150 นาที

  • ส่วนที่ 1 : 27 นาที*
  • ส่วนที่ 2 : 45 นาที
  • พัก : 10 นาที
  • ส่วนที่ 3 : 60 นาที*

*เวลาในส่วนที่ 1 และ 3 อาจจะมีความต่างจากที่แจ้งให้ทราบด้านบน แต่อย่างไรก็ตาม เวลารวมของการสอบทั้งหมดคือ 150 นาที

2. Mathematical Reasoning : 115 นาที

  • ส่วนที่ 1 : คำถาม 5 ข้อแรก ไม่อนุญาติให้ใช้เครื่องคิดเลข
  • ส่วนที่ 2 : คำถาม 41 ข้อที่เหลือ อนุญาติให้ใช้เครื่องคิดเลข

3. Science : 90 นาที

4. Social Studies : 70 นาที

The GED® test consists of 4 content areas

1. Reading Through Language Arts (RLA) : 150 นาที

  • Section 1 : 27 minutes*
  • Section 2 : 45 minutes
  • Student Break : 10 minutes
  • Section 3 : 60 minutes*

* The time allotted for sections 1 and 3 may vary slightly, but the total test time will always be 150 minutes.

2. Mathematical Reasoning : 115 minutes

  • Part 1 : first 5 test questions calculator not allowed
  • Part 2 : remaining 41 test questions calculator allowed

3. Science : 90 minutes

4. Social Studies : 70 minutes

For more information and how to register the test, please visit the official GED website. (https://ged.com/en/)

เหมาะสำหรับ

Rescore GED

Rescore GED ทำได้ไหม แล้วต้องทำยังไงบ้าง?

การ Rescore สามารถทำได้ 1 ครั้งต่อวิชาเท่านั้น  (โดยชี้แจงไว้บนหน้าเว็บหรือผ่านทางอีเมล) แต่ในทางปฏิบัติ ก็มีนักเรียนของที่สถาบัน Paradigm บางคนโทรไปขอ Rescore มากกว่า 1 ครั้งก็ได้รับอนุมัติเช่นกัน แต่ทั้งนี้ แนะนำว่าน้องๆ ควรเตรียมตัวให้ดีและทำคะแนนให้ถึงเป้าในการสอบตั้งแต่ครั้งแรกๆ จะดีที่สุดค่ะ เพราะขั้นตอนในการ Rescore จะค่อนข้างยุ่งยากในกรณีที่ในบางคนไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับทาง GED ได้เอง และเพื่อไม่ให้เสียเงินและเวลาเพิ่มเติมด้วย

สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่เคยสอบ GED อาจจะงงว่า Rescore คืออะไร ทำไมต้องทำ?

ปัจจุบันการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันสูง เช่น CU, TU, MUIC, KU, SUIC ต้องบอกก่อนว่าหลายๆ มหาวิทยาลัยมีการกำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ หรือบางคณะกำหนดคะแนน GED สูงถึง 660+ ถึงจะมีสิทธิ์ยื่นสมัครเข้าเรียนได้ จึงเป็นที่มาว่าทำไมน้องๆ ถึงสอบถามเรื่อง Rescore คะแนน GED กันเข้ามาค่อนข้างเยอะ เป็นเพราะว่าน้องๆหลายๆคนทำคะแนนไม่ถึงตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยที่น้องๆแพลนอยากจะเข้าไปเรียนกัน

สำหรับขั้นตอนการขอ Rescore มี 2 วิธีดังนี้

1. ขอ Rescore ผ่านทางอีเมล

ทาง GED มีข้อกำหนดสำหรับผู้สอบศูนย์ประเทศไทย ดังนี้

  • น้องต้องสอบครบ 4 วิชาแล้ว
  • มีคะแนนรวมไม่เกิน 660 คะแนน
  • ยังไม่เคย Rescore วิชาที่ต้องการจะ Rescore มาก่อน (นั่นคือ Rescore ได้ครั้งเดียวนั่นเอง)

 หากน้องๆ ผ่านตามข้อกำหนดด้านบน ให้ส่งรายละเอียดด้านล่างนี้ไปที่ help@ged.com โดยตั้งชื่ออีเมลว่า “Application to retake exam in Thailand”

  • ชื่อและนามสกุล
  • วันเกิด
  • E-mail ที่ใช้สมัคร GED Account
  • เบอร์โทรศัพท์ที่ใช้สมัคร GED Account
  • วิชาที่ต้องการ rescore
  • เหตุผลที่ต้องการ rescore
  • วันที่ต้องการ rescore ใหม่

จากนั้นรอทาง GED อนุมัติประมาณ 1-2 สัปดาห์และเขาจะส่งขั้นตอน rescore กลับมาให้ทางอีเมล ให้น้องๆ ทำตามเพื่อ Rescore ต่อไปได้เลยค่ะ

จะเห็นว่าใช้เวลาค่อนข้างนาน วิธีนี้จะเหมาะกับคนที่มีเวลาเตรียมตัว ไม่ได้เร่งรีบแก้ไขคะแนนมากค่ะ

2. ขอ Rescore ผ่านทางโทรศัพท์

วิธีนี้เหมาะกับน้องๆ ที่รีบยื่นคะแนนและต้องการ Rescore แบบเร่งด่วน นั่นคือการโทรไปคุยกับเจ้าหน้าที่ GED ที่ USA โดยตรงค่ะ น้องๆ ทำตามขั้นตอนนี้ได้เลย

1. โทรไปที่เบอร์ +18773926433 (เบอร์ศูนย์ GED ที่อเมริกา) ซึ่งเวลาจะห่างกับประเทศไทย 12 ชั่วโมง แนะนำโทรตอนสามทุ่มเป็นต้นไปค่ะ
2. เจ้าหน้าที่สอบถามข้อมูลส่วนตัว ต่อไปนี้ ให้สะกดให้ชัดเจนค่ะ

  • First name and Last name
  • Date of Birth
  • Phone Number
  • Mailing Address, ex. Bangkok Thailand

3. รอสายประมาณ 10 นาทีเลย แล้วจะมีเจ้าหน้าที่ตอบกลับมาว่า จะสอบวันไหน ขอวันที่ และเวลาระบุให้ชัดเจนมาเลย (ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนตอนหลังได้นะคะ ขอให้น้องๆ เช็ควันเวลาที่สะดวกมาให้ดีเลย)
4. เขาจะขอตัดบัตรเครติดเลย โดยแจ้งเลขบัตร วันหมดอายุของบัตร ชื่อหน้าบัตรและเลขหลังบัตรค่ะ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้น น้องจะได้วันสอบทันทีหลังคุยจบเลยค่ะ!

เพิ่มเติม

1. การขอ Rescore จะต้องแจ้งคะแนน GED Ready ด้วย โดยคะแนนจะต้องมีอายุไม่เกิน 2 เดือน ถ้าเกินแล้วแนะนำให้สอบใหม่เพราะหากคะแนนเก่าเกินไป บางเคสอาจจะไม่อนุมัติให้ Rescore หรือเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ไปสอบมาใหม่ค่ะ
2. Rescore แล้วคะแนนไม่อัพเดตทำยังไง:
– หากคะแนนยังไม่อัพเดต อย่าเพิ่งกดรับ Diploma นะคะ! เบื้องต้นให้พิมพ์คุยกับเจ้าหน้าที่ใน Chat ใน GED Account และแจ้งว่าคะแนนไม่เปลี่ยน แต่ Rescore มาแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะจัดการให้ค่ะ แล้วหลังจากนั้นน้องๆ ค่อยกดรับ Diploma/ Transcript หลังจากเลขคะแนนอัพเดตค่ะ

สุดท้ายนี้ทาง Paradigm Education ขอเป็นกำลังใจให้กับน้องๆ ทุกคนที่ตั้งใจจะสอบเพื่อยื่นคะแนนเทียบวุฒิเข้ามหาวิทยาลัยด้วยวุฒิ GED นะคะ ขอให้น้องๆ ได้คะแนนตามที่หวังและก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยได้คณะที่น้องๆตั้งใจไว้ค่ะ

สำหรับน้องๆ ที่สนใจในการสอบเทียบวุฒิม.6 เข้ามหาวิทยาลัยด้วยวุฒิ GED ก็สามารถเข้ามาปรึกษา สอบถาม พูดคุย กับพี่ๆแอดมินของทาง Paradigm Education ได้ที่ Line ID : @paradigm.edu ค่ะ 

ถ้าน้องๆคนไหนสนใจวางแผนการเรียน เพื่อเตรียมตัวสอบ GED ทางสถาบันของเราก็จะมีติวทั้งแบบตัวต่อตัว (1-ON-1) และแบบกลุ่มนะคะ ติดต่อมาได้ที่ Line @paradigm.edu ได้เลยค่ะ

 

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนสอบ GED 
ข้อคำถามคำตอบ
1การสอบ GED คืออะไร ?

GED (The General Educational Development) คือการสอบเทียบวุฒิการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของประเทศอเมริกา

โดยเมื่อนักเรียนสอบแล้วจะได้รับใบประกาศนียบัตรซึ่งสามารถนำไปยื่นสมัครเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาได้ โดยในปัจจุบันวุฒิ GED เป็นที่ยอมรับทั้งจากมหาวิทยาลัยต่างๆในไทยและทั่วโลก

2วิชาที่สอบมีอะไรบ้าง ?

GED ประกอบด้วย 4 วิชา คือ

  • Reasoning Through Language Arts (ภาษาอังกฤษ) โดยใช้เวลาสอบ 150 นาที
  • Mathematic Reasoning  (คณิตศาสตร์) โดยใช้เวลาสอบ 115 นาที
  • Science  (วิทยาศาสตร์) โดยใช้เวลาสอบ 90 นาที
  • Social Studies (สังคมศาสตร์) โดยใช้เวลาสอบ 70 นาที
3ต้องทำข้อสอบให้ได้กี่คะแนนถึงจะสอบผ่าน ?

โดยคะแนนเต็มของแต่ละวิชานั้นจะอยู่ที่ 200 คะแนน ซึ่งผู้สอบจะต้องทำคะแนนในแต่ละวิชาให้ได้อย่างน้อย 145 คะแนนจึงจะถือว่าสอบผ่านและได้รับ GED Diploma and Transcript ซึ่งเอกสาร 2 อย่างนี้จะต้องทำการ Request ในระบบหลังจากสอบผ่านแล้ว มิฉะนั้นจะไม่มีเอกสารใดๆส่งมา

นอกจากต้องสอบให้ได้วิชาละ 145 คะแนนขึ้นไปแล้ว บางมหาวิทยาลัยได้มีการเพิ่มเกณฑ์ขั้นต่ำตามรายละเอียดดังนี้

  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: ต้องทำคะแนนให้ได้วิชาละ 165 คะแนนขึ้นไป จึงจะมีสิทธิสมัครเรียน
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ต้องทำคะแนนรวมทั้ง 4 วิชาให้ได้ 660 คะแนนขึ้นไป จึงจะมีสิทธิสมัครเรียน
  • วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIC): ต้องทำคะแนนรวมทั้ง 4 วิชาให้ได้ 600 คะแนนขึ้นไป จึงจะมีสิทธิสมัครเรียน
4GED Ready คืออะไร ?

GED Ready มีรายละเอียดดังนี้ คือ

  • GED Ready คือ การฝึกทำข้อสอบ GED เสมือนจริง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสมัครสอบจริง
  • ผู้สอบจะต้องทำแบบทดสอบ GED Ready ให้ผ่านก่อน โดยในแต่ละวิชาต้องทำคะแนนให้ได้วิชาละ 145 คะแนนขึ้นไป ถึงจะสามารถสมัครสอบจริงได้
  • ผู้สอบสามารถฝึกทำข้อสอบ GED Ready ได้ที่บ้านหรือว่าสถานที่ที่ผู้สอบสะดวก โดยไม่ต้องไปสอบที่สนามสอบจริง
5ค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบ GED เท่าไหร่ ?

ค่าสอบ GED Ready (ฝึกสอบ) คือ

  • 1 วิชา =  6.99 USD (เหรียญดอลลาร์สหรัฐ)
  • 4 วิชา =  24 USD (เหรียญดอลลาร์สหรัฐ)

ค่าสอบ GED (สอบจริง) คือ

  • 1 วิชา =  80 USD (เหรียญดอลลาร์สหรัฐ)
  • 4 วิชา =  320 USD (เหรียญดอลลาร์สหรัฐ)
6ใครสามารถสอบ GED ได้บ้าง และต้องมีอายุเท่าไหร่ ?

คุณสมบัติของผู้สอบ GED คือ

  • GED เปิดสอบสำหรับบุคคลทั่วไป หรือผู้ที่ต้องการใช้วุฒิการศึกษาเพื่อยื่นศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
  • ผู้สอบ GED จะต้องมีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • สำหรับผู้สอบที่มีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ผู้สอบต้องปริ้นเอกสาร Consent Form เพื่อให้ผู้ปกครองเซ็นยินยอม และสแกนส่งกลับไปที่อีเมล์ help@ged.com เพื่อให้ GED ตรวจสอบ และรออนุมัติประมาณ 3 ถึง 5 วัน
  • ผู้สอบจะต้องทำแบบทดสอบ GED Ready ให้ผ่านก่อน โดยในแต่ละวิชาต้องทำคะแนนให้ได้วิชาละ 155 คะแนนขึ้นไป ถึงจะสามารถสมัครสอบจริงได้
7ขั้นตอนการสมัครสอบ GED ต้องทำอย่างไร ?

ขั้นตอนการสมัครสอบ GED มีดังนี้ คือ

  • เข้าไปสมัครสอบที่เว็บไซด์ www.ged.com
  • ทำการ Create Account ของผู้สอบ
  • ผู้สอบ GED จะต้องมีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • สำหรับผู้สอบที่มีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ผู้สอบต้องปริ้นเอกสาร Consent Form เพื่อให้ผู้ปกครองเซ็นยินยอม และสแกนส่งกลับไปที่อีเมล์ help@ged.com เพื่อให้ GED ตรวจสอบ และรออนุมัติประมาณ 3 ถึง 5 วัน
  • ผู้สอบจะต้องทำแบบทดสอบ GED Ready ให้ผ่านก่อน โดยในแต่ละวิชาต้องทำคะแนนให้ได้วิชาละ 155 คะแนนขึ้นไป ถึงจะสามารถสมัครสอบจริงได้
8มีคณะหรือมหาวิทยาลัยใดบ้างในประเทศไทยที่รับวุฒิการศึกษาของ GED ?

คณะหรือมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่รับวุฒิการศึกษาของ GED มีดังนี้ คือ

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (BBA) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะเศรษฐศาสตร์ (EBA) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะนิเทศสาสตร์ (COMM ARTS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะจิตวิทยา (JIPP) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (BBA) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะเศรษฐศาสตร์ (BE) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (BJM) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (TEP/TEPE) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • International Business, Mahidol University International College
  • Communication Design, Mahidol University International College
9คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ 145 จะต้องทำอย่างไร ?

ในกรณีที่ผู้สอบได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ 145 คะแนน ผู้สอบจะต้องลงทะเบียนสมัครสอบใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ

  • หากผู้สอบได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ 145 คะแนน ผู้สอบสามารถลงทะเบียนสมัครสอบติดต่อกันได้ไม่เกิน 3 ครั้ง
  • หากในครั้งที่ 3 คะแนนยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องพักสอบเป็นเวลา 60 วัน ถึงจะสามารถลงทะเบียนสอบครั้งที่ 4 ได้
  • และในการสมัครสอบครั้งต่อๆไปต่อจากครั้งที่ 4 ในทุกๆครั้ง ผู้สอบก็ต้องพักสอบเป็นเวลา 60 วันเช่นกัน ถึงจะสามารถลงทะเบียนสอบใหม่ได้
10การสอบ GED มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง ?

ทปอ. หรือ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (Council of University Presidents of Thailand) ได้ประกาศปรับเพิ่มคะแนน GED สำหรับยื่นเข้ามหาวิทยาลัยดังนี้ คือ

  • 1 วิชา จากวิชาละ 145 คะแนน ปรับเพิ่มเป็น 165 คะแนนขึ้นไป
  • รวม 4 วิชา เป็น 660 คะแนนขึ้นไป
11เอกสารที่ต้องเตรียมไปในวันสอบ GED ?

ผู้สอบ GED จะต้องแสดงเอกสารที่มี “รูปถ่ายและลายเซ็นของผู้สอบระบุอย่างชัดเจน” เพื่อยืนยันตัวตนสำหรับการเข้าสอบ เอกสารที่แนะนำมีดังนี้ คือ

  • หนังสือเดินทาง หรือ Passport (เอกสารฉบับจริง ที่ยังไม่หมดอายุ)
  • ในส่วนของบัตรประชาชนไทยนั้น (เอกสารฉบับจริง ที่ยังไม่หมดอายุ) เนื่องจากบัตรประชาชนไทยไม่มีลายเซ็น จึงต้องใช้ยื่นคู่กับบัตรที่มีลายเซ็น อาทิเช่น บัตรนักเรียน/นักศึกษาที่ทางสถาบันการศึกษาออกให้ในรูปแบบของบัตรเดบิต และหรือบัตรเครดิตที่มีชื่อของผู้สอบที่ออกโดยระบบการพิมพ์ของธนาคารปรากฎอยู่บนหน้าบัตร และต้องเป็นชื่อเต็มตรงกับชื่อที่ลงทะเบียนสมัครสอบกับทาง GED ทั้งนี้บัตรที่ใช้ยื่นคู่กับบัตรประชาชนไทยนั้นต้องมีลายเซ็นของผู้สอบอยู่บนแถบลายเซ็นสีขาวที่ระบุอยู่บนบัตรด้วย

*แนะนำเป็นหนังสือเดินทาง หรือ Passport (ที่ยังไม่หมดอายุ) เพียงฉบับเดียวสามารถยื่นเข้าสอบได้ตามกฎของ GED

12เปลี่ยนวันสอบ GED หรือต้องการยกเลิกการสอบและขอเงินคืนได้ไหม ?

ในกรณีที่ผู้สอบต้องการ “เปลี่ยนวันสอบหรือต้องการยกเลิกการสอบและขอเงินคืน” มีรายละเอียดดังนี้ คือ

  • กรณีเปลี่ยนวันสอบ: หากผู้สอบต้องการเปลี่ยนวันสอบสามารถเปลี่ยนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ทั้งนี้ผู้สอบต้องทำการเปลี่ยนก่อนถึงเวลาสอบจริง 24 ชั่วโมง
  • กรณีต้องการยกเลิกการสอบและขอเงินคืน: ในส่วนของการยกเลิกการสอบนั้นผู้สอบก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ผู้สอบต้องทำการยกเลิกการสอบก่อนถึงเวลาสอบจริง 24 ชั่วโมง โดยทาง GED จะคืนค่าสอบผ่านบัตรเครดิตที่ใช้ในการลงทะเบียนสมัครสอบ
13Diploma และ Transcript ?

ผลสอบ GED ในแต่ละวิชานั้น ผู้สอบจะได้รับผลไม่เกิน 2 วันทำการ

เมื่อสอบผ่านทั้ง 4 วิชาแล้ว เมื่อไหร่จะได้ Diploma และ Transcript?

  • เมื่อผู้สอบทำการสอบผ่านทั้ง 4 วิชาแล้ว ผู้สอบต้องรอประมาณ 2 อาทิตย์ หรือน้อยกว่านั้น ถึงจะได้รับ E-Diploma และ E-Transcript
  • โดยผู้สอบจะได้รับอีเมล E-Diploma และ E-Transcript จาก GED Testing Service
  • ผู้สอบสามารถ Download เอกสาร E-Diploma และ E-Transcript ได้ไม่เกิน 7 ครั้ง ตามระยะเวลาที่ทาง GED Testing Service กำหนดเอาไว้

Paper Diploma และ Paper Transcript (เอกสารหลักฐานที่เป็นกระดาษ)?

  • ปัจจุบัน GED Testing Service จะไม่มีการจัดส่งเอกสาร Paper Diploma และ Paper Transcript ที่เป็นกระดาษให้กับผู้สอบแล้ว จะมีเฉพาะเอกสารหลักฐานออนไลน์ คือ E-Diploma และ E-Transcript เท่านั้น
  • ทั้งนี้หากผู้สอบต้องการเอกสาร Paper Diploma และ Paper Transcript ที่เป็นกระดาษ ผู้สอบจะต้องสั่งเอกสารกับทาง GED Testing Service โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการขอเอกสาร Paper Diploma และ Paper Transcript ด้วย
  • ผู้สอบต้องรออย่างน้อย 2 อาทิตย์ หรือจนกว่าจะได้อีเมล E-Diploma และ E-Transcript จาก GED Testing Service เมื่อได้รับอีเมลแล้วถึงจะสามารถสั่งเอกสาร Paper Diploma และ Paper Transcript ได้
  • GED Paper Diploma และ Paper Transcript จะอยู่ที่ใบละ 15 USD (เหรียญดอลลาร์สหรัฐ)
  • ในส่วนของบริการการจัดส่งเอกสารนั้น มี 2 แบบให้เลือก คือ
    1. United State Postal Service (USPS) เอกสารจะจัดส่งถึงบ้านประมาณ 14 วัน
    2. FedEx จะมีค่าบริการเพิ่มใบละ 40 USD (เหรียญดอลลาร์สหรัฐ) เอกสารจะจัดส่งถึงบ้านประมาณ 5 วันทำการ (ไม่นับวันอาทิตย์)
14สอบ GED ที่ไหนดี ?

สถานที่สอบ GED ในประเทศไทย มีดังนี้

  • ภาคกลาง
  1. Paradigm Education: เลขที่ 25 อาคารอัลม่าลิงค์ (ตึกข้างๆเซ็นทรัลชิดลม) ชั้น 2 ซ.ชิดลม ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน จ.กรุงเทพฯ โทร: 02-255-8889, 092-063-5599
  2. Pearson Professional Centers: BB Building, ชั้น 10 ถนนอโศกมนตรี ซอยสุขุมวิท 21 จ.กรุงเทพฯ โทร: 02-664-3563
  3. KMUTT : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ จ.กรุงเทพฯ โทร: 080-963-6015
  4. Assumption University: Suvarnabhumi Campus เลขที่ 88 หมู่ 8 บางนา-ตราด กม.26 บางเสาธง จ.สมุทรปราการ โทร: 02-300-4543
  • ภาคเหนือ
  1. Movaci Technology: เลขที่ 420/11-13 ถนนช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทร: 053-920-555
  2. Payap University: ถ.เชียงใหม่-ลำปางซุเปอร์ไฮเวย์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทร: 053-851-478
  3. Thabyay Education Foundation: อ.แม่สอด จ.ตาก โทร: 055-534-731
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  1. Greater Good Education : แก่นนครออฟฟิศพาร์ค อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทร: 080-260-1383
  • ภาคใต้
  1. Phuket Academic Language School: เลขที่ 66/19 ถนนวิจิตรสงคราม อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต โทร: 081-417-0978

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

เรื่อง การเทียบวุฒิการศึกษาต่างประเทศ

Paradigm Education ยินดีให้คำปรึกษา

Contact Form
สอบถามได้ที่นี่ค่ะ
This popup will close in:
This popup will close in: 10